วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สอบเข้ม “Apple-Google” ข้องใจตามเก็บพิกัดผู้ใช้มือถือ

หน่วยรักษาสิทธิมนุษยชนสหรัฐฯ property Power and Commerce Committee เป็นหน่วยงานล่าสุดที่ส่งจดหมายถึงแอปเปิล (Apple) และกูเกิล (Google) ให้ชี้แจงข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการติดตามพิกัดการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคทั่วโลก ทั้งรายละเอียดข้อมูลที่ถูกเก็บ การนำไปใช้ การจัดเก็บ และการแบ่งปัน รวมถึงเหตุผลในการติดตามเก็บ โดยเรียกร้องให้ทั้งสองให้ความกระจ่างก่อนวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ไม่เพียงแอปเปิลและกูเกิล หน่วยงานสหรัฐฯยังส่งจดหมายเรียกชี้แจงถึงผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือรายอื่นในตลาดอีก 4 ราย ทั้งไมโครซอฟท์ (Microsoft) โนเกีย (Nokia) ริม (study in Motion) และฮิวเล็ตแพคการ์ด (Hewlett-Packard) ด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีระบบปฏิบัติการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องใดจะลักลอบตามเก็บข้อมูลพิกัดผู้ใช้โทรศัพท์มือถืออีก การกดดันแอปเปิลและกูเกิลให้ตอบคำถามแก่สังคมครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยของอังกฤษพบว่า สมาร์ทโฟนยอดฮิตของแอปเปิลอย่างไอโฟน (iPhone) นั้นติดตามเก็บข้อมูลว่าเจ้าของเครื่องเดินทางไปที่ไหนบ้าง โดยจะบันทึกข้อมูลลงในเครื่องก่อนจะอัปโหลดอัตโนมัติลงในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เมื่อโทรศัพท์ถูกเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ผ่านโปรแกรมไอจูนส์ (iTune) การตรวจสอบพบว่าข้อมูลที่ถูกเก็บประกอบด้วยพิกัดเส้นรุ้ง-เส้นแวงของตำแหน่งใช้งานเครื่อง พร้อมด้วยวันเวลาโดยประมาณ ทั้งหมดถูกซ่อนไว้ในไฟล์ลับซึ่งยังไม่ได้รับการปกป้องที่รัดกุม ในทางทฤษฎี ข้อมูลพิกัดตำแหน่งผู้ใช้ไอโฟนที่ถูกเก็บไว้ในเครื่องนั้นทำให้ผู้ใช้สูญเสียความเป็นส่วนตัว เพราะในทางปฏิบัติ ข้อมูลพิกัดเหล่านี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลชั้นยอดให้กับทั้งสามีภรรยาที่ระแวงกันอยู่ พ่อแม่ผู้ปกครองที่อยากรู้ความเป็นไปของบุตรหลาน ไม่เว้นนักโฆษณาที่ต้องการสอดแนมพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อนำเสนอโฆษณาที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายให้ตรงเป้าที่สุด อย่างไรก็ตาม โทษของแอปเปิลยังไม่ชัดเจนเพราะการตรวจสอบพบว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกส่งไปที่แอปเปิลหรือบริษัทรายอื่น (third party)  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม