วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กล้องแห่งอนาคต”ถ่ายก่อนค่อยโฟกัส”

ถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นของตากล้องทั่วโลกสำหรับการแจ้งเกิด เทคโนโลยีนวัตกรรมกล้องดิจิตอลของบริษัทน้องใหม่นาม Lytro (ไลโทร) เพราะเทคโนโลยีของไลโทรสามารถทำให้นักถ่ายภาพกดชัตเตอร์ก่อนแล้วค่อยกลับมา เลือกว่าจะเล็งโฟกัสไปที่ใด สื่อนอกเชื่อนวัตกรรมนี้จะเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการถ่ายภาพครั้งใหญ่ไม่แพ้การ แทนที่ฟิลม์ของกล้องดิจิตอล เทคโนโลยี กดชัตเตอร์ก่อนค่อยโฟกัส กำลังจะถูกทำ ตลาดโดยบริษัทไลโทรซึ่งตั้งอยู่ในเมาท์เทนวิว แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา รายงานระบุว่าบริษัทกำลังพัฒนากล้องดิจิตอลรุ่นใหม่เพื่อวางจำหน่ายภายในปี นี้ โดยชื่อเรียกของเทคโนโลยีนี้คือ “light field (ไลท์ฟิลด์)” ซึ่งเป็นเบื้องหลังที่ทำให้ช่างภาพสามารถถ่ายภาพโดยไม่ต้องโฟกัสก่อน หลักการทำงานของไลท์ฟิลด์คือการเก็บข้อมูลแสงที่มากกว่าจากองศาที่หลากหลายกว่ากล้องในปัจจุบัน บนหัวใจของเทคโนโลยีนี้ซึ่งอยู่ที่ชั้นเลนส์พิเศษมีชื่อเรียกว่าไมโครเลนส์อาร์เรย์ (microlens array) ที่หมายถึงการใช้เลนส์หลายตัวเก็บซ้อนกันในพื้นที่จำกัดของตัวกล้อง โดยเมื่อนำข้อมูลดิบจากเทคโนโลยีนี้มาประมวลผลร่วมกับซอฟต์แวร์เฉพาะทาง ตากล้องก็สามารถเลือกจุดโฟกัสที่ใดก็ได้ตามต้องการด้วยการคลิกเมาส์ จุดนี้ Ren Ng (เหริน อึ้ง) ซีอีโอไลโทรระบุว่าไลท์ฟิลด์จะทำให้ตากล้องถ่ายภาพได้เร็ว สามารถมีเวลามองหาจุดสนใจอื่นในภาพได้ละเอียดกว่า (เมื่อเทียบกับการเล็งโฟกัสในเวลาชั่วอึดใจก่อนการกดชัตเตอร์) และได้รับความรู้สึกอินเทอร์แอคทีฟกับภาพ เชื่อว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเพื่อนและครอบครัวซึ่งจะ สนุกสนานกับการแชร์ภาพหลากหลายมุมมองบนเครือข่ายสังคม ไม่เพียงช่างภาพสมัครเล่น แต่วงการช่างภาพมืออาชีพก็มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากไลท์ฟิลด์เช่นกัน โดยช่างภาพข่าว Ricchallenging Koci Hernandez ซึ่งเคยได้ลองใช้ต้นแบบกล้องเทคโนโลยีไลท์ฟิลด์มาก่อน มั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะมีผลกับการเปลี่ยนแปลงโลกแห่งการถ่ายภาพในอนาคตแน่ นอน “ช่างภาพเพียงสนใจแค่ภาพและองค์ประกอบ และไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องจุดโฟกัสอีกต่อไป เพราะนั่นคือสิ่งที่สามารถทำทีหลังได้” ตามประวัติ ซีอีโออึ้งนั้นก่อตั้งบริษัทไลโทรขึ้นในปี 2006 หลังจากเสนอโครงการวิจัยเทคโนโลยีไลท์ฟิลด์ต่อมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแล้ว เรียบร้อย โดยงานวิจัยนี้กลายเป็นวิทยานิพนธ์ระหว่างการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิทยา  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม